วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556
10 เรื่องผิดพลาด+++
เรื่องของช่างภาพไม่ว่าจะมือสมัครเล่นหรือ คนที่ที่รับงานถ่ายภาพเป็นอาชีพ ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดปัญหาคล้ายๆกัน เรื่องเหล่านี้มีอะไรบ้าง เชื่อว่าแทบทุกคนคงจะต้องเจอกันซักข้อแหละ ถ้าเป็นการถ่ายภาพเวลาไปเที่ยวกันในหมู่ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงก็ดีไป แต่ถ้าเป็นตอนรับงานแล้วดันเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นมา ก็ต้องแก้ไขกันไปตามสถานการณ์ล่ะคร้าบ
1. ลืมเปิดฝาครอบเลนส์ – ข้อนี้บ่อยมากครับ โดยเฉพาะเวลาฉุกละหุกรีบๆ และมีเลนส์ในกระเป๋าต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาซัก 2-3 ตัว มันประมาณว่า หยิบตัวนี้วางใส่กระเป๋า กลัวฝุ่นจะเข้าหน้าเลนส์ก็ต้องเอาฝาปิดไว้ พอหยิบมาใช้อีกที อ้าว ลืมเปิดฝา ต้องบอกลูกค้าให้ยิ้มอีกรอบ โอ๊ย วุ่นวาย ยังคิดเลยครับว่า ทำไมมันไม่ผลิตเลนส์ที่มีฝาปิดออโต้แบบกล้องคอมแพคมันซะเลย
2. เลือกค่า ISO ถ่ายในที่มืดแล้วลืม พอออกที่สว่างรูปที่ได้ก็สว่างจ้าเลย – เรื่องนี้ก็เป็นอีกอย่างที่ลืมกันบ่อยๆ ถ่ายตอนออกกลางแจ้ง อ้าว ลืมปรับ iso เซ็งเลย ต้องขอโทษขอโพยลูกค้าเป็นการใหญ่
3. แบตเตอรี่หมดเพราะลืมปิดกล้อง – เคยไหมครับ ถ่ายรูปครั้งสุดท้ายเมื่อสองวันที่แล้ว ละลืมปิดสวิตซ์กล้อง แบตก็เลยหมดไปเรื่อยๆ พอเราหยิบมาใช้อีกทีก็เข้าใจว่ายังเต็ม สองวันก่อนถ่ายไปนิดเดียว แต่ปรากฎพอวันนี้เอาไปถ่าย แบตหมดอย่างไว ใครไม่มีสำรองนี่ถึงกับเศร้าเลยนะครับ อีกเรื่องนึงที่แย่กว่าคือลืมใส่แบตเตอรี่มันซะเลย แบบว่ามีงานตอนเช้า และชาร์จแบตไว้ พอเช้ามาลืมทิ้งไว้ที่บ้าน อันนี้สุดยอดแห่งหายนะ
4. แบตเตอรี่หมดอายุ พอดี๊ พอดี – โอยยย ข้อนี้ถือว่าโคตรซวย และผมก็เคยเป็นมาแล้ว งานแต่งด้วยครับ แบตอ่อนลงๆ กะว่ามีสองก้อนถ่ายทั้งวันหมูๆ ไม่ได้สำรองไป ตกบ่ายๆแบตทำไมหมดแล้ว เอาไปชาร์จก็ไม่เข้า ปรากฎว่ามันหมดอายุตอนนั้นพอดี เหลืออีกก้อนใช้ไปก็ลุ้นไปว่าจะครบทั้งงานไหม
5. ตั้งค่าระบบเลือกพื้นที่วัดแสงเป็นแบบเฉพาะจุดทิ้งไว้ – แล้วก็ลืมเปลี่ยนคืนไงครับ ถ่ายรูปออกมา ทำไมมันมืดไปสว่างไปตลอดหว่า กว่าจะเจอว่าเพราะอะไรก็เล่นเอางานเกือบเสีย
6. การ์ดเต็ม – แถมไม่มีสำรอง อันนี้หายนะของจริงครับ ผมเคยประมาทคิดว่างานประมาณนี้มันควรจะได้กดภาพเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆมันได้กดเยอะมาก การ์ดก็ร่อยหรอไปเรื่อยๆ เอาละซิตรู เลยต้องแก้ไขด้วยการปรับขนาดภาพให้เล็กลง จาก L เป็น M และ S ในที่สุด พร้อมๆกับภาวนาว่าอย่าให้เค้าถูกใจเอารูปไซส์ S ไปขยายใหญ่เลยจ้า
7. ใช้แฟลชแล้วดันตั้งชัตเตอร์สปีดไวเกินไป – ปกติคือถ้าชัตเตอร์สปีดไวกว่า 1/250 ภาพที่ได้จะเป็นเงาดำๆเกิดขึ้นบนภาพอันเป็นผลมาจากการที่ชัตเตอร์มันปิดไวเกิน แก้ไขง่ายๆก็ถ้าเป็นแฟลชดีๆมันจะมี High speed sync ก็ใช้สปีดสูงๆได้เลย หรือจะลดสปีดลงมาให้เหลือประมาณ 1/125 ลงมาก็ได้ครับ
8. Plate ขาตั้งกล้องหายไปไหนไม่รู้ – อันนี้เจ็บปวดๆ แบกขาตั้งอันเบ้อเริ่มมาด้วย แต่ดันไม่เอา Plate มา ส่วนใหญ่มันมักจะติดอยู่กับกล้องตัวอื่น หรืออยู่ในกระเป๋าใบอื่น ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ ใช้เสร็จต้องเอากลับไปติดไว้กับขาตั้งกล้องทุกครั้ง ทำให้เป็นนิสัยครับ
9. ตั้ง White Balance ค้างไว้ค่าเดิม – ผมเคยตั้งมันไว้ที่ Fluorescent และไปถ่ายกลางแจ้งแดดแจ๋ โดยที่ดันประมาทไม่ยอมเช็คภาพหลังถ่ายแต่ละรูป (มันร้อนและมองจอหลังกล้องไม่ค่อยเห็นด้วยครับ) ถ่ายไปเป็น 10-20 นาที พอเข้าร่ม อ้าววว ถ่ายใหม่เลย
10. ลืมปัดฝุ่น – กร๊ากๆๆ อันนี้คลาสสิคมาก ลืมปัดฝุ่นแล้วไม่ทันเห็น ภาพออกมามีจุดดำๆขาวๆเพียบ น่าเตะตัวเองเป็นที่สุด
10 ข้อครบแล้ว ใครเคยลืมหรือพลาดข้อไหนบ้างครับ ใครไม่เคยพลาดเลยนี่ยอดมนุษย์จริงๆเลย ขอยกย่องคร้าบบ
Credit ภาพจาก : www.digitalcameraworld.com
COOLPIX P520 กล้องดิจิตอลคอมแพ็ค จาก NIKON
NIKON เปิดตัวกล้องคูลพิกซ์ P520 กล้องคอมแพ็คประสิทธิภาพสูงรุ่นล่าสุดในตระกูลคูลพิกซ์ ที่มาพร้อมกับหลากหลายฟังก์ชั่นใหม่ที่รองรับการถ่ายภาพแบบ full-scale ด้วยประสิทธิภาพการซูมเหนือระดับที่ 42 เท่าด้วยเลนส์ NIKKOR ทั้งรองรับการถ่ายภาพแบบซุปเปอร์ เทเลโฟโต้ ที่เทียบเท่าได้กับทางยาวโฟกัสที่1000 มม. พร้อมระบบลดการสั่นไหวแบบชุดเลนส์ (VR)และจอแสดงผล LCD ขนาดใหญ่ หมุนได้รอบทิศขนาด 3.2 นิ้ว เพื่อมุมมองกว้าง
กล้องรุ่น P520 ได้รับการพัฒนามาจากกล้องรุ่นที่ประสบความสำเร็จก่อนหน้านี้อย่างรุ่นคูลพิกซ์ P510 ซึ่งเป็นกล้องศักยภาพการซูมระดับสุดยอด กล้องรุ่น P520 ถือเป็นกล้องรุ่นที่มีเลนส์ซุมประสิทธิภาพระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ของกล้องตระกูลคูลพิกซ์และซูมแบบออพติคัล 42 เท่าด้วยเลนส์ NIKKOR ที่มาพร้อมกับเลนส์มุมกว้างทางยาวโฟกัส 24-1000 มม. (เทียบเท่าฟอร์แมท 35มม.) และยังมีการเพิ่มโหมด ACTIVE ไว้ในระบบลดการสั่นไหวแบบชุดเลนส์ (VR) เพื่อช่วยเรื่องภาพถ่ายที่ไม่ชัดซึ่งเกิดจากการสั่นไหวขณะถ่ายภาพหรือบันทึกภาพวีดีโอ นอกจากนี้กล้องรุ่น P520 ยังมาพร้อมกับฟังก์ชั่นพื้นฐานและฟังก์ชั่นการทำงานขั้นสูงอีกมากมายรวมไปถึงจอแสดงภาพLCDขนาด 3.2 นิ้ว เซ็นเซอร์แบบ Backside illumination CMOS ที่มีความละเอียดถึง 18.1 ล้านพิกเซล บันทึกภาพวีดิโอแบบความละเอียดสูงแบบ Full-HD ขนาด 1920×1080 60i หรือ 50i และฟังก์ชั่น GPS ที่รองรับการแสดงภาพแบบ point of interest (POI)
ยิ่งไปกว่านั้น กล้องรุ่น P520 ยังสามารถรองรับอะแดปเตอร์พกพาไร้สาย WU-1b (อุปกรณ์เสริมจำหน่ายแยก) สะดวกในการถ่ายโอนภาพหรือควบคุมการทำงานด้วยอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ (Smart devices) รวมทั้งการอัพโหลดภาพเพื่อแบ่งปันในโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คได้อย่างง่ายดาย เมื่อกล้องได้รับการเชื่อมต่อกับอะแดปเตอร์พกพาไร้สาย WU-1b ผู้ใช้งานจะสามารถอัพโหลดภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวคุณภาพสูงไปยังอุปกรณ์มือถือต่างๆ (Smart devices) ได้อย่างง่ายดาย ภาพที่เห็นผ่านเลนส์กล้อง (liveview) จะสามารถแสดงบนหน้าจออุปกรณ์มือถือต่างๆ สำหรับการถ่ายแบบ Remote shooting ภาพถ่ายและวีดีโอต่างๆ ที่บันทึกด้วยกล้องรุ่น P520 จึงสามารถอัพโหลดไปยังอุปกรณ์มือถือต่างๆ และสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อแชร์ให้กับครอบครัวและเพื่อนฝูงได้อย่างง่ายดาย *ต้องติดตั้งแอพพลิเคชั่นสำหรับ Wireless Mobile Adapter Utility บนอุปกรณ์ก่อน (สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นได้ฟรีจาก App Store ของผู้ผลิตอุปกรณ์นั้นๆ)
ประสบการณ์ที่ควรค่าต่อการแบ่งปัน
เมื่อใช้อุปกรณ์เสริม WU-1a Wireless Mobile Adapter คุณสามารถส่งภาพถ่ายได้อย่างทันทีผ่านทาง Wi-Fi® สู่
สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของคุณ* พร้อมควบคุมกล้องได้จากระยะไกลด้วยรีโมท เพื่อประสบการณ์ที่เหนือชั้นมากยิ่งขึ้น
และใช้ฟังก์ชั่น GPS เพื่อบันทึกข้อมูลสถานที่แก่ภาพถ่ายทุกใบ
Wi-Fi® และตราสัญลักษณ์ Wi-Fi CERTIFIED เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Wi-Fi Alliance
* การใช้ฟังก์ชั่นนี้ ต้องติดตั้งอุปกรณ์เสริม Wireless Mobile Adapter Utility ในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตก่อน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)